0

Wishlist Product

The wishlist is empty
CATEGORIES
CATEGORIES MENU

15

การติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่า 

มีจุดประสงค์เพื่อ ลดความรุนแรง ความเสียหายที่จะเกิดต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งปลูกสร้าง ในบริเวณพื้นที่กำหนด

เมื่อห้ามฟ้าผ่าไม่ได้ แต่เราป้องกัน และควบคุมความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่าได้ โดยมีส่วนประกอบสำคัญในการป้องกันฟ้าผ่าแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. การติดตั้งหัวล่อฟ้า (Lightning air terminals)

 หัวล่อฟ้า ทำหน้าที่ ดักจับ และรับพลังงานประจุฟ้าผ่าไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งที่เราต้องการป้องกัน หลังจากนั้นจะส่งพลังงานประจุฟ้าผ่าส่งต่อให้ "ตัวนำลงดิน" ต่อไป คุณสมบัติที่ดีของหัวล่อฟ้ามีดังนี้

  1. เป็นโลหะที่มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดี เนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าจำนวนมากไหลผ่านในขณะเกิดฟ้าผ่า
  2. มีความคงทนสูงต่อการกัดกร่อนต่อสภาพสิ่งแวดล้อม สารเคมี เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน และไม่ยุ่งยากในการดูแลรักษาเนื่องจากอุปกรณ์ถูกติดตั้งอยู่บนที่สูง
  3. มีพื้นผิวที่ลื้น และมันวาวเนื่องจากประจุฟ้าผ่าเป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีความถี่สูงเส้นทางของพลังงานจะเกิดขึ้นบริเวณพื้นผิวของตัวนำมากกว่าภายในของวัสดุ
  4. "การเลือกใช้วัสดุป้องกันฟ้าผ่า" ที่ไม่ทำให้เกิดการกัดกร่อนต่อสิ่งปลูกสร้าง

หัวล่อฟ้ามีอยู่ 2 ระบบคือ

  1. หัวล่อฟ้า "ระบบพื้นฐาน หรือ Conventional system" ที่จะใช้หลักการออกแบบโดยใช้ ทรงกลมกลิ้ง มุมป้องกัน และตาข่ายป้องกัน ที่เราเรียกกันติดปากว่า กรงฟาราเดย์ (Faraday cage) หรือ หลักล่อฟ้าแบบแฟรงคลิน Franklin rod 

        

 Lightning Protection Method Aconplus 

รูปตัวอย่างการออกแบบป้องกันฟ้าผ่าโดยใช้หลักการของ ทรงกลมกลิ้ง หรือ Rolling sphere lightning protection 
ตาข่ายป้องกัน Mesh protection และมุมป้องกัน Cone protection ถือได้ว่าเป็นระบบป้องกันฟ้าผ่าตัวอาคารได้ดีที่สุด

ขอบคุณภาพจาก www.electrical-knowhow.com

Conventional System 001 Conventional System 002 Conventional System 003 

 รูปแสดงตัวอย่างการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบ ระบบพื้นฐาน (Conventional System)

                 2. หัวล่อฟ้าระบบ ปล่อยประจุเร็ว รัศมีทำการไกลเรียกว่า ระบบ Early Streamer Emission (ESE) เป็นหัวล่อฟ้าที่มีการพัฒนามาจากระบบ conventional เดิม

                เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการปล่อยประจุไฟฟ้าเพื่อล่อประจุฟ้าผ่ามาลงที่หัว ล่อฟ้าได้เร็ว และไกลมากขึ้นสามารถป้องกันได้ทั้งตัวอาคาร และบริเวณสถานที่โดยรอบของตำแหน่งที่มีการติดตั้งหัวล่อฟ้าไว้ ตามที่แสดงดังรูปตัวอย่าง 

LAP DX 250 LPS LiVA instal 001LPS LiVA instal 005

 รูปแสดงตัวอย่างหัวล่อฟ้าแบบ ESE รูปตัวอย่างจาก www.aconplus.co.th/

หัวล่อฟ้าจะต่อกับ ตัวนำลงดิน ทำหน้าที่รับพลังงานไฟฟ้าสูงต่อจากหัวล่อฟ้าส่งผ่านลงดินได้อย่างปลอดภัยควรคำนึงถึง

  1. ขนาด และชนิดของสายตัวนำลงดินให้เหมาะสมกับชนิด และปริมาณของระบบป้องกันฟ้าผ่า
  2. มีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าควรมีจุดต่อน้อยที่สุด ระยะสายสั้นที่สุด
  3. จุดโค้งจะต้องมีรัศมีในมุมป้านไม่น้อยกว่า 50 เซ็นติเมตร อยู่ห่างจากระบบไฟฟ้าหรือโครงสร้างอย่างน้อย 20 เซ็นติเมตร เพื่อป้องกันปัญหาการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า
  4. ในบริเวณที่คนสามารถจับสัมผัสได้จะต้องมีฉนวนไฟฟ้าห่อหุ่มสายนำลงดินเพื่อป้องกันอันตรายในกรณีระบบกราวด์ชำรุด

 2. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ากระโชก เข้าสู่ระบบไฟฟ้า หรือ Surge Protection Devices (SPD) 

        ผลของเส้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นหลังจากมีฟ้าผ่า ที่มีผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า สายส่งพลังงานทำให้ไฟดับ สายสัญญาณที่ทำให้สัญาณผิดเพี้ยน หรือขาดหาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นอย่างน้อยหลายๆท่านคงสงสัย

        อธิบายโดยภาพเป็นตัวอย่างด้านล่างนี้

Setup Surge Protection CRITEX TDX SERIES Setup Surge Protection CRITEX TDX SERIES 1 Setup Surge Protection CRITEX TDX SERIES 2

ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ากระโชกทางด้านสายไฟฟ้ากำลัง

           อุปกรณ์ ป้องกันไฟฟ้ากระโชกแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

  1. Power Surge Protection อุปกรณ์ดับจับพลังงานไฟฟ้ากระโชกทางด้านสายส่งกำลังไฟฟ้าที่ต่อเข้าไปในระบบไฟฟ้าภายในอาคาร
  2. Data Surge Protection อุปกรณ์ดับจับพลังงานไฟฟ้ากระโชกทางด้านสายสื่อสารข้อมูลที่ต่อเข้าไปในระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

 3. ติดตั้งระบบกราวด์ไฟฟ้า Grounding System 

เพื่อให้มีการระบายประจุไฟฟ้าส่วนเกินลงดินเพื่อลดความเสียหายต่อระบบไฟฟ้า และอันตรายที่จะเกิดต่อสิ่งมีชีวิต และยังช่วยในเรื่องการรักษาระดับคุณภาพของแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการใช้งาน มีใช้งานในระบบส่งกำลังไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ห้องปฏิบัติการคอมพวเตอร์ ระบบรางเลื่อนขนส่ง เครื่องจักรในการผลิตชิ้นงาน และระบบป้องกันฟ้าผ่า

LPS LiVA instal 003 setup LPI Stormaster ESE Korat 4

vacation pattaya 003 Faraday Franklins 8

ภาพตัวอย่างลักษณะของการตอกแท่งกราวด์ลงดิน การใช้เคมีกราวด์ร่วมกับระบบแท่งกราวด์ การขุดเจาะท่อกราวด์เชิงลึกโดยรถขุดเจาะบาดาล

และการแสดงเครื่องทดสอบอ่านค่าความต้านทานระบบกราวด์

           ระบบกราวด์ไฟฟ้า หน้าที่หลักคือกระจายพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากฟ้าผ่าลงดินให้มาก และเร็วที่สุดกราวด์ที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้

          1. ค่าความต้านทานทางไฟฟ้าที่ต่ำ

      • 10 โอห์ม ในงานระบบไฟฟ้า
      • 5 โอห์ม ในงานป้องกันฟ้าผ่า
      • 1 โอห์มในงานระบบสื่อสาร

            ซึ่งค่าความต้านทานดังกล่าวเป็นเพียงค่าแนะนำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อม และลักษณะของงานที่ใช้

         2. มีค่าความต้านทานคงที่แม้จะผ่านช่วงฤดูที่แตกต่างกัน

         3. วัสดุที่นำมาทำระบบกราวด์จะต้องมีความคงทนแข็งแรงต่อการกัดกร่อนสูง และมีช่องเปิดหรือจุดทดสอบวัดค่าความต้านทานได้โดยง่าย

          ในกรณีมีระบบกราวด์อยู่หลายตำแหน่งในระบบเดียวกัน หรือต่างกันจะต้องมีการจัดการ โดยเชื่อมโยงทางไฟฟ้ากัน หรือ แยกกัน ให้เป็นไปตามทฤษฎีระบบกราวด์ตามหลักวิศกรรมเพื่อประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด

บริษัท เอคอน พลัส จำกัด

107/100 หมู่ 6 ต.คูคต
อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130

QR Code line

สแกน qr-code Line Official
LINE ID : aconplus
เพียงคลิ๊กที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ...!

LINE Link

Tel. 096-828-7555 Mobile 097-179-7533

เอคอน พลัส ยินดีต้อนรับ

ลงทะเบียนบัญชีวันนี้ เพื่อรับข้อเสนอ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิเศษสำหรับคุณเท่านั้น

  • ระบบลงทะเบียนที่ปลอดภัย
  • ข้อมูลของคุณสามารถปรับเปลี่ยนด้วยตัวคุณเองได้ตลอดเวลา
  • สามารถบันทึกผลิตภัณฑ์ที่คุณชื่นชอบ
  • สั่งซื้อสินค้าได้ง่ายๆ